top of page
Writer's pictureDew Promchareon

Surf History

Updated: Jan 13, 2021

ประวัติศาสตร์ของการโต้คลื่นและ ความหมายของ surf culture


หากพูดถึงกีฬามีกีฬาหลายประเภทที่เน้นการแข่งขันกับคู่แข่งเช่น ฟุตบอล เทนนิส บาสเก็ตบอล กีฬาเซิร์ฟก็คล้ายกัน แต่เปลี่ยนจากการแข่งขันกับคู่แข่งเป็นการแข่งตัวเอง และแข่งกันกับความเข้าใจธรรมชาติ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กีฬาโต้คลื่นมีเสน่ห์ ไม่ได้เป็นเพียงกีฬาเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นวัฒนธรรมของการหล่อหลอมรวมจิตวิญญาณระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติจนกลายเป็น Surf Culture


ประวัติการโต้คลื่น


ในโลกของเรายังคงมีคนเป็นจำนวนมากที่อาจไม่คุ้นกับการเซิร์ฟเพราะมีหลายประเทศที่ไม่ได้ติดอยู่กับทะเล แต่ที่แน่นอนคือทุกคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับกีฬาหรือกิจกรรมนี้ เนื่องจากการเติบโตของ surf culture ที่ได้แพร่ทั่วโลก และได้เข้ามาสู่ประเทศไทยของเราเช่นกัน คนที่นับถือ surf culture นั้น สามารถรวมคนที่เซิร์ฟเพื่อความสนุก คนที่เซิร์ฟเป็นอาชีพ หรือแม้กระทั้งคนที่ไม่เซิร์ฟเลย ความพิเศษของ surf culture นั้น จึงอยู่ที่ความยินดีที่จะต้อนรับคนทุกรูปแบบที่อยากใช้ชีวิต และมีความคิด แบบวิถีนักเซิร์ฟ ที่ได้เติบโตมาจากประวัตศาสตร์ที่ลึกของการโต้คลื่นนั่นเอง



เซิร์ฟเริ่มต้นจากที่ไหน และตอนไหน?


British Library digitised image from page 477 of "Captain Cook's Voyages round the World. (Slightly abridged.) With an introductory life by M. B. Synge
British Library digitised image from page 477 of "Captain Cook's Voyages round the World. (Slightly abridged.) With an introductory life by M. B. Synge

จริงๆแล้ว ไม่มีใครรู้ว่าการโต้คลื่นบนกระดานเริ่มต้นจากที่ไหนหรือตอนไหน เพราะมีหลักฐานของการโต้คลื่นตั้งแต่ยุคมนุษย์เริ่มว่ายนำ้เป็น แต่ที่คนนิยมเชื่อกันมากที่สุดคือการโต้คลื่นแบบยืนบนกระดานไม้ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้นั้น ได้มาจากหมู่เกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากคนหมู่เกาะโปโลนีเซียที่ย้ายไปฮาวายในคริสต์ศตวรรษที่ 5 เคยใช้การโต้คลื่นเป็นวิธีนำปลาที่จับในทะเลกลับมาสู่ฝั่ง จึงพาประเพณีนี้เข้าไปสู่ฮาวายด้วย


พอช่วงปี 1777-1779 กัปตัน เจมส์ คุก และ เรือโท เจมส์ คิง สร้างหลักฐานชิ้นแรกในสมุดจดของทั้งสอง กับการจดไว้ว่าได้เห็นคนทาฮิติและฮาวายโต้คลื่นแบบเป็นกิจกรรมอดิเรก จึงทำให้เรารู้ว่าการโต้คลื่นในทิศทางนี้ได้เริ่มขึ้นแถวๆนั้น




อดีตการโต้คลื่นในฮาวาย



ในฮาวาย การโต้คลื่น “wave riding” หรือตามภาษาฮาวาย “he’e nalu” เป็นทั้งกีฬาของกษัตริย์ วัฒนธรรมของชาวบ้าน พิธีแสดงความเคารพให้กับทะเลและเป็นศิลปะในตัวของมันเอง ในอดีตกษัตริย์จะมีฝีมือการโต้คลื่นที่เก่งที่สุด และจะได้กระดานที่ยาวกว่าคนอื่นที่ทำมาจากต้นไม้ที่ดีที่สุด การแข่งขันโต้คลื่นในตัวมันเอง ช่วยระงับการโต้แย้งบนเกาะได้มาก จึงทำให้ฮาวายเป็นหมู่เกาะที่ทุกคนดูมีความสามัคคี ด้วยความรักต่อการโต้คลื่นที่มีด้วยกัน


พอมาถึงยุคที่นักสำรวจยุโรปได้ตั้งถิ่นบนเกาะฮาวาย การโต้คลื่นก็เกือบสูญหายไป เนื่องจากนักสำรวจได้ มองการโต้คลื่นเป็นกิจกรรมเล่นที่ดึงเวลาจากการทำงาน รวมถึงศาสนาใหม่ที่เข้ามาและห้ามกิจกรรมหนักให้กับผู้หญิง จึงเป็นเหตุผลที่การโต้คลื่นในฮาวายในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกือบสูญหายไป โดยถ้านับเป็นจำนวนคน สามารถคิดได้ว่าเหลือนักเซิร์ฟอยู่ประมาณ 150 คน จากทั้งเกาะ



http://www.gettyimages.co.uk/detail/news-photo/portrait-of-swimming-and-surfing-star-duke-kahanamoku-news-photo/551923219
A portrait of swimming and surfing star Duke Kahanamoku, Hawaii, circa 1912.

ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อโลกได้รู้จักกับ ดุ๊ก คาฮานาโมกู (Duke Kahanamoku) เกิดเมื่อปี 1890 ในเมืองหลวงฮอโนลูลู (Honolulu) ของรัฐฮาวาย และมีฉายาว่า “The Duke” และ “The Big Kahuna” ได้โตขึ้นกับการโต้คลื่นที่หาดของไวกีกิ (Waikiki) กับบอร์ดฮาวายสไตล์ traditional เรียกว่า “Alaia” ของเขาที่มีความยาว 16ฟุต (1.8เมตร)


ประวัติการโต้คลื่น Surf History เขียนโดย Better Surf Thailand
Duke Kahanamoku with his surfboard. Photographer: Floyd Lavinius Parks. (NAID 6121002). Courtesy Eisenhower Library.

Duke Kahanamoku เป็นนักกีฬาว่ายนำ้ที่สร้างสถิติของโลก โดยการได้รับเหรียญทองสามเหรียญในการแข่งกีฬาโอลิมปิกในยุคนั้น จากการแข่งโอลิมปิก มีนักกีฬาจากหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย แคลิฟอร์เนีย และยุโรป ที่ได้เชิญ Duke Kahanamoku ไปแสดงและสอนการเซิร์ฟให้กับประเทศของตนเอง จนช่วงปี 1914-1932 เป็นยุคที่ surf culture ได้แพร่ไปทั่วโลก และทำให้ทุกคนได้รู้จัก Duke Kahanamoku เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก และ ผู้นำทาง ของการโต้คลื่นของยุคปัจจุบัน


ประวัติการโต้คลื่น Surf History เขียนโดย Better Surf Thailand
Harold Kruger, Clarence Lane and Duke Kahanamoku at Red Cross Benefit Swimming Meet. Brighton Beach, Brooklyn, New York in 1918. Photographer: Paul Thompson.165-WW-38B-32 (NAID 20802740)
ประวัติการโต้คลื่น Surf History เขียนโดย Better Surf Thailand
Isabel Letham and Duke Kahanamoku, tandem surfing, 1915 - Dee Why Library


Duke เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในวันที่ 22 มกราคา 1968 หลังจากนั้นในปี 1990 ฮาวายได้สร้างอนุสรณ์รูปปั้นของ Duke ไว้ที่โฮโนลูลู เพื่อเป็นการระลึกถึงคนที่ทำให้กีฬาโต้คลื่นเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้


https://www.shutterstock.com/es/video/clip-13268753-waikiki-beach-hawaii---circa-december-2015



อดีตการโต้คลื่นในแคลิฟอร์เนีย


George Freeth (November 8, 1883 – April 7, 1919), often credited as being the "Father of Modern Surfing." Los Angeles County Lifeguard Trust Fund.

ผู้กำเนิดการโต้คลื่นและ surf culture ในรัฐแคลิฟอร์เนียคนแรกคือ จอร์จ ฟรีท (George Freeth) เกิดเมื่อปี 1883 ในเมือง Oahu ของรัฐฮาวาย เป็นนักเซิร์ฟที่ Duke Kahanamoku ประทับใจ และเป็นคนแรกของโลกที่ตัดกระดานโต้คลื่น 1 6ฟุต ถือว่าเป็นคนแรกที่ปูเส้นทางให้กับการโต้คลื่นกับกระดานที่สั้นลง ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 George Freeth ได้นำบอร์ดลำนั้นย้ายไปอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย โดยแสดงฝีมือการโต้คลื่นของตัวเองให้กับทุกคนจนได้มีอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่คอยช่วยชีวิตผู้ที่ประสบเหตุทางน้ำ (professional lifeguard) คนแรก เป็นนักโต้คลื่นอาชีพ (professional surfer) คนแรก และ เป็นหนึ่งในผู้นำทางของการโต้คลื่นของยุคปัจจุบันเช่นกัน



ความหมายของ surf culture

Before the breakwater was built, Long Beach was a popular place to surf in the 1930s. Photo: Lind Family Collection

เราเรียกกันว่า surf culture คนอื่นอาจเรียกว่า วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม - ได้เริ่มรับความนิยมในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ได้จับกระแสโลกหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ยุค 1960 เป็นยุคทองของสิ่งที่เราเรียกกันว่า surf culture หลังจากหนังเรื่อง “Gidget” ได้ออกมาแสดงความเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมนี้ให้คนได้รับรู้






คนหลายคน อาจมอง surf culture เป็นการไม่ทำงานและเล่นนำ้ทั้งวัน การใช้ชีวิตแบบ “endless summer” ซึ่งในชีวิตจริงแล้วเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่ได้เป็นมหาเศรษฐี
surf culture คือมุมมองการใช้ชีวิตที่ต่างจากมุมมองคนทั่วไป ที่หลายคนมองว่า การมีความมั่งคั่งร่ำรวยคือความสุข แต่สำหรับเซิร์ฟการมีชีวิตที่ดี คือการที่เราได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับคนรอบข้างที่เรารัก และได้มีความสุขกับการแบ่งปันสิ่งที่เรารักด้วยกัน
หลายคนจึงเลือกใช้ชีวิตที่ห่างไกลจากความวุ่นวาย อยู่กับธรรมชาติ และใช้ชีวิตร่วมกลับกลุ่มคนที่ชอบในสิ่งเดียวกัน นี่คือจุดศูนย์กลางของคำว่า surf culture

นอกจากความคิดหลักของ surf culture แล้ว วัฒนธรรมของมันเองก็เต็มไปด้วยสีสัน ศิลปะ และ เสียงดนตรี รวมไปถึงการเลือกเสื้อผ้า การใช้ภาษา การใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างจากคนทั่วไป อย่างที่ได้เล่าไป ภาพยนตร์คือสิ่งแรกที่เป็นตัวสร้างกระแส surf culture ขึ้นมา ทุกวันนี้เราจึงมีหนังเซิร์ฟหลายๆเรื่อง รวมไปถึงคลิปเซิร์ฟที่มีความหลากหลายตามภาษาของนักเซิร์ฟแต่ละคน surf culture จึงกลายเป็นวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการแบ่งปันศิลปะ และความสร้างสรรค์ระหว่างกันและกัน ดนตรีก็เป็นอีกอย่างที่ทำให้ surf culture นั้น มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ดนตรี surf ได้แรงบันดาลใจจากสไตล์ rock and roll และ blues ในยุคปลาย 1950 และ 1960 เช่น อัลบั้มเพลงของ Jimi Hendrix “Voodoo Child” และ The Beach Boys กับ “Surfin’ USA” เพลงเหล่านี้ มีไว้เพื่อเปรียบเสมือนความรู้สึกดีๆที่ได้จากการโต้คลื่น เพื่อที่เราจะได้รู้สึกดีในชีวิตประจำวันของเรา แม้จะไม่ได้อยู่ในนำ้ก็ตาม




Surf culture นั้น จึงเป็นวัฒนธรรมที่เปิด แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ซึ่งจะให้อธิบายทั้งหมดก็คงไม่ได้ เพราะหลายๆอย่างนั้น แต่ละคนจะต้องค้นหาเองว่า surf culture สำรับตัวเองคืออะไรบ้าง และตัวเราอยากต่อยอดจากมันไปยังไง surf culture มีหลายแบบ เห็นได้ชัดเจนจากสถานที่เซิร์ฟต่างๆที่เอาวัฒนธรรมของประเทศตัวเองมาประสมกับ sulf culture เช่นที่ ฮาวาย ยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฯ ที่จะมี surf lifestyle และ culture ทีไม่เหมือนกัน


การโต้คลื่นในประเทศไทย มีการโต้คลื่นมาหลายสิบปี แต่จะเพิ่งได้เริ่มนิยมสูงสุดจากคนไทยในปี 2020 ทางเราจึงตื่นเต้นที่จะสร้าง surf culture ดีๆไปด้วยกันกับทุกคน เพื่อให้ประเทศอื่นได้เห็น ว่าแม้เราจะเป็นประเทศเซิร์ฟที่เข้าวงการช้า แต่ก็ไม่ล้าในความสำคัญที่เรามีให้กับวัฒนธรรมดั้งเดิมที่พิเศษนี้


ไม่พลาดเรื่องราวดีของการโต้คลื่นอย่าลืมไปกด Subscibe แจ้งเตือนบทความใหม่ได้ที่ www.bettersurfthailand.com/subscribe


และอย่าลืมให้กำลังนักเขียนโดยการกด Share หรือคอมเมนต์ด้านล่างนะครับ


ข้อมูลนักเขียน



Dew Promchareon นักโต้คลื่นหญิงไทยอายุ 20 ปี ที่เรียนและมีประสบการณ์โต้คลื่นที่สก็อตแลนด์ ปัจจุบันดิวอยู่ที่จังหวัดระยองและเริ่มต้นเข้าร่วมการแข่งขันสนามต่างๆ และผลักดันให้ผู้หญิงไทยออกมาโต้คลื่นกัน ติดตามภาพและวิดีโอการโต้คลื่นของดิวได้ที่ www.instagram.com/dewpromchareon

นบโตมาจากประวัต











Reference:

Drughi, Octavia (2019), “Surf Culture: Then and Now”, https://www.booksurfcamps.com/news/surf-culture-history


Marcus, Ben (N/A), “FROM POLYNESIA WITH LOVE: The History of Surfing from Captain Cook to Present”, http://www.surfingforlife.com/history.html




1,689 views0 comments
bottom of page